พัฒนาธุรกิจซอฟแวร์ให้ทำกำไรได้ภายใน 3 เดือน

ปรับ Business Model ให้ตอบโจทย์ลูกค้า และเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจของคุณ

ทุกคนล้วนเริ่มต้นด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้า

นี่คือเรื่องราวของ Startup ที่เกิดขึ้นมาพัน นับหมื่น ราวกับดาวบนฟ้าที่ล้วนเกิดมา และดับสลายไป

ย้อนกลับไปในอีก 2010 ผมรู้สึกว่าตอนนั้นเป็นเหมือนช่วงเวลาที่สว่างจ้าในชีวิตของผม และปีที่ดำมืดที่สุดในชีวิตของผมเช่นกัน เนื่องจากโครงการ Action Pro ที่เป็นแอพ iPhone สำหรับถ่ายวิดีโอในกลุ่มผู้เล่นกีฬา Extreme ได้รับรางวัลอันดับหนึ่งในการบ่มเพาะทางธุรกิจของทางรัฐบาล แต่เพียง 10 เดือนนับจากนั้น สิ่งที่ผมเจอมันกลับกลายเป็นแผลใจที่บาดลึกมากจนถึงปัจจุบัน

เมื่อย้อนกลับไปที่ปี 2010 ทุกคนน่าจะยังพอจำกันได้ว่ามันเป็นปีที่ Smart Phone เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปมากขึ้น แต่ก็ยังคงจำกัดอยูในวงผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีมากๆ เท่านั้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่ายังคงอยู่ในช่วง Early Adopter เริ่มใช้งานแล้วนั้นเอง แต่ยังไม่อยู่ในตลาด Mass ดังนั้นด้วยความที่โครงการได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล ทำให้ผมเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ทันทีเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน ด้วยความคาดหวังของใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นตัวผมเอง อาจารย์/ผู้ใหญ่ที่สนับสนุนผม และผู้คนที่ผมได้เจอ ทุกคนต่างอิจฉาในสิ่งที่ผมทำ โดยโครงการอื่นๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ IT จึงทำให้โครงการของผมนั้นโดดเด่นมาก จากพฤติกรรมของผู้คนจำนวนมากที่เริ่มใช้ Facebook เป็นปกติขึ้นทุกวัน และมีการ Adopt ใช้ Smart Phone มากขึ้นเป็นอย่างมาก

ผมเคยประกาศไว้กับใครหลายๆ คนว่างานของผมจะสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับประเทศไทย จะสร้างงานได้เป็นจำนวนมาก จะทำให้ชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมากดีขึ้น แต่ความจริงในอนาคตจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า? นั้นก็เป็นคำถามที่ผมเองก็คลางแคลงใจในตัวเองตลอดเวลา แต่ก็ยังคงบอกตัวเองเสมอว่าเราทำได้

จนกระทั่งเวลาผ่านไป 10 เดือน ผลิตภัณฑ์ที่ผมพัฒนาขึ้นมาก็พร้อมที่จะ Launch สู่ตลาด ถึงแม้ว่า Action Pro จะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ผมปล่อยลงสู่ App Store แต่มันก็ตื่นเต้นเอามาก และจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แอพแทบไม่มีดาวโหลดมาใช้เลย

ต้องยอมรับว่า ณ ช่วงเวลานั้น Startup ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ยังใหม่อยู่ เรียกได้ว่าใหม่มากจนเป็นแค่เพียงวงการเล็กๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก จนกระทั่งปี 2015 นั้นแหละที่สื่อหลักอย่างทีวีเริ่มให้ความสนใจในวงการ Startup มันจึงทำให้ผมที่ถึงแม้ว่าจะอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้ ก็แทบไม่มีทรัพยากรในการเรียนรู้เลยว่าต้องทำธุรกิจอย่างไร และแน่นอนว่าตอนจบของธุรกิจนี้ ผมคิดว่าทุกคนเดาได้ว่ามันจะเกิดอะไร นั้นก็คือไม่สามารถสร้างรายได้ได้เลย!

ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้ชักชวนเพื่อนมาร่วมทำงานด้วย ผมกับเพื่อนอีก 3 คน ได้เปิดบริษัทร่วมกัน และทำกิจกรรมหลายๆ อย่างร่วมกัน แต่ด้วยความที่เวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้เวลาร่วม 10 เดือน จึงทำให้ทีมงานขาด Momentum ในการผลักดันผลงานไปข้าง แถม Marketing สำหรับแอพก็ไม่มีใครทำเป็นสักคน มันจึงทำให้การล้มเหลวในครั้งนี้ไม่ใช่แค่การล้มเหลวในการขายสินค้าไม่ได้ แต่มันรวมถึงภาวะผู้นำด้วย ที่ผมเอาแต่บอกกับทุกคนว่าอะไรๆ มันจะดีขึ้นเอง เวลาที่ Product Launch แล้ว เราจะทำสิ่งต่างๆ ที่เคยสัญญากันไว้อย่างประสบความสำเร็จ แต่สิ่งเหล่านั้นมันไม่เคยเกิดขึ้นเลย!

ในปีถัดมาผมใช้เวลาไปเกือบทั้งปีในการเล่น MMORPG เพิกเฉยต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จนเรียกได้ว่าเป็นเด็กติดเกมนั้นแหละ เพราะ เรารับความเจ็บปวดไม่ได้ เราไม่เข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับเรา เราไม่อยากจะได้ยินเสียงเหล่านั้น แต่เชื่อผมเถอะว่ามันคือคำเตือนที่ล้ำค่าที่สุด ที่เราจะสามารถหาได้จากประสบการณ์ที่เราได้รับมา

จักรวาลจะเหวี่ยงเราไปในที่ที่เราต้องการเสมอ

ฉลามทุกตัวล้วนเกิดมาจากทะเลริมหาดเสมอ และเมื่อพวกมันเติบโตก็จะออกไปสู่ทะเลกว้าง

ปี 2012 หลังจากหลบเลียแผลใจนับแรมปี ผมก็เริ่มเข้าสู่วงการ Startup เต็มตัว ตัวผมเองที่ขณะนั้นยังคงอาศัยอยู่ในโคราช ได้เริ่มเข้ากรุงเทพเพื่อเข้าร่วมงานสัมนา, hackatron หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เริ่มมีการรวบรวมผู้คนที่ทำงานเกี่ยวกับธุรกิจ Software, App ต่างๆ และนั้นก็เป็นการเริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาทองของ Startup ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ และนั้นก็ทำให้ผมได้เริ่มเห็นโลกใหม่ วิธีการใหม่ และสาเหตุที่ทำให้ผมล้มเหลวจากโครงการที่ผ่านมา

โดยสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจของผมล้มเหลวเป็นหลักเลยก็คือ ระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นานเกินไป โดยหนังสือเล่มแรกที่ผมเริ่มอ่านเลยก็คือ Lean Startup เขียนโดย Eric Ries หนังสือเล่มนี้คือหนังสือที่ผมแนะนำให้ทุกคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Software จะต้องอ่าน เพราะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ Startup ประสบความสำเร็จนั้นเอง

ซึ่งสาเหตุที่ระยะเวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์นาน ทำให้โครงการล้มเหลวเกิดขึ้นเนื่องมาจาก

  • ระยะเวลาคือต้นทุน ต่อให้เราไม่ได้ใช้เงินเลย แต่เราก็ยังใช้เวลาของเราไปเป็นจำนวนมาก และเวลานั้นก็คือต้นทุนที่มีค่ามากที่สุด
  • ยิ่งเราใช้เวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์เยอะ แปลว่าเรากำลังยิ่งเพิกเฉยต่อความต้องการของลูกค้า ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลาพัฒนาเยอะจะยิ่งไม่มีคนใช้
  • Momentum ของทีม (และตัวเรา) จะลดลงตลอดเวลา เพราะ สาเหตุที่เราทำธุรกิจก็คือสร้างเงิน แต่ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งมีแต่ใช้เงิน และนั้นก็จะทำให้ความศรัทธาของเราและทีมลดลงตลอดเวลา

ถ้าหากนั้นคือสาเหตุของการล้มเหลวทั้งหมด ผมก็คงต้องบอกว่ามันก็คงทำให้ธุรกิจที่ผมจะเล่าในลำดับถัดไปประสบความสำเร็จแน่ๆ

ปี 2015 ผมได้ร่วมโครงการกับ Founder อีกคน จากเริ่มต้นเดิมที เราจะขายดีลท่องเที่ยวราคาถูกเป็นจุดขาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือนเราก็รู้ว่ามันไม่น่ารอด เพราะ ผู้ขายไม่ค่อยมีใครเอากับเราด้วยเลย ทั้งๆ ที่ Business Model แบบนี้ Groupon ได้รับทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมาก (และถึงแม้ว่าในเวลาต่อมาจะล้มละลายไปก็ตาม) จนทำให้เรา Pivot ไปขายอาหารแทน

ในเวลานั้น Grab ที่ในปัจจุบันเป็นผู้นำในตลาด Food Delivery แล้ว ยังเพิ่งขยายธุรกิจออกมานอกมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิด และดำเนินการเกี่ยวกับการเรียกแท๊กซี่เป็นหลักเท่านั้น ภายใต้ชื่อแบรนด์ Grab Taxi นั้นเอง และมีเพียง Food Panda ที่เป็น Startup จากอเมริกาเท่านั้นที่เริ่มดำเนินการในประเทศไทย

โครงการของผมในเวลานั้นมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก จนทำให้สถาบันสนับสนุนของ Startup ของมาเลเซีย รับทีมของผมเข้าการบ่มเพาะที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งให้ข้อเสนอที่ดีมาก ทั้งการให้เงินเดือน ให้โรงแรม ให้ที่ปรึกษา ให้การอบรม เป็นระยะเวลาเต็มตลอด 3 เดือน ซึ่งก็มีทีมอีกกว่า 50 ทั่วเอเชียตะวันออกเชียงใต้เข้าสู่โครงการนี้

และเมื่อผมและทีมเข้าสู่โครงการบ่มเพาะ สิ่งที่จริงๆ แล้วมีปัญหาแต่ผมก็ทำเป็นสงบ ไม่ยอมพูดออกมาก็คือ วิธีการดำเนินธุรกิจที่จะต้องใช้วิธีแบบ Lean Startup หรือที่ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า Customer Development จนทำให้ผมทนไม่ไหวกับ CEO ได้ทะเลาะกันระหว่างที่เข้าโครงการบ่มเพาะได้ 1 เดือนครึ่ง จนทำให้ CEO ไล่ผมที่ทำงานเป็นระยะเวลากว่า 10 เดือน โดยไม่มีวันหยุดพัก วันละ 10 ชั่วโมง เขียนโปรแกรมไป 1.4 ล้านบรรทัด โดยไม่ตอบแทนสิ่งใดให้เลย

จะเชื่อหรือไม่ว่า Founder ที่เป็น CEO ของผมนั้นก็รู้ว่า Startup ต้องใช้ Lean startup ถึงจะไปรอด เพราะ ตัวเขาเองก็ทำงานให้กับ Startup แห่งอื่น ซึ่งได้รับเงินทุนไปแล้วหลายล้านเหรียญ รวมทั้งสามีของ CEO ยังเป็นหนึ่งใน Startup ที่ประสบความสำเร็จมาก จนสามารถขายกิจการออกไปได้แล้ว

ผู้ที่ให้คำปรึกษาธุรกิจในโครงการบ่มเพาะ แจ้งให้เราควรจะต้อง Pivot แต่ CEO ไม่ยอม จึงทำให้ธุรกิจที่พอจะเริ่มทำงานได้ (ไม่กี่หมื่นบาทต่อเดือนหรอก) กลับต้องหยุด ไม่สามารถเพิ่มรายได้ได้ และนั้นก็ทำให้ผมได้ทราบว่า ทีมคือส่วนที่สำคัญต่อความสำเร็จ

ลำพังเพียงการมีทีมที่เก่งในงาน Technical แต่ละด้านนั้นไม่เพียงพอ แต่ยังต้องเก่งคนอีกด้วย เพื่อที่จะบริหารงานให้รอด ไม่ใช่การปล่อยความขัดแย้งให้อยู่ต่อไปแล้วคาดหวังว่าสักวันหนึ่งมันจะดีขึ้นเอง และนั้นแหละที่ผมทำพลาดไป

คำถามที่ผมคอยถามตัวเองมาตลอดก็คือทำไมผมถึงต้องไปร่วมทำงานกับคนอื่นแทนการทำหลายๆ อย่างด้วยตัวคนเดียวมันก็เริ่มเกิดขึ้น จึงทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถทำธุรกิจได้เองคนเดียวจริงๆ ก็คือ การตลาด

ถึงแม้ว่าความคิดของผมจะว่าด้วยเรื่องการทำงานคนเดียว แต่สิ่งที่ต้องการจะคิดจริงๆ ก็คือความอ่อนแอในตัวของเราต่างหาก

ในปี 2018 ระหว่างที่ยังคงว่างงานอยู่ อยู่ดีๆ ผมก็ได้รับโทรศัพท์จากน้องคนหนึ่ง ขอให้สอนวิธีการเขียนภาษา Ruby ให้หน่อย โดยที่เขาจะนำไปใช้กับ Sketchup (โปรแกรมสำหรับเขียนแบบ) โดยเวลานั้นเองผมเองก็ไม่ทราบว่า Sketchup คืออะไรด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่ว่าง และอยากทำให้ชีวิตผู้อื่นดีขึ้นผมก็เลยกลายเป็นติวเตอร์พิเศษให้กับน้องเขา

แต่มันกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่อย่างจริงจังของผมในการทำการตลาด (Digital Marketing) จากตอนแรกที่ผมเคยมองว่าการตลาดเหมือนเป็นศาสตร์มืดมนดำที่ใช้ศิลปะในการทำงาน แต่มันกลับกลายเป็นว่าจริงๆ มันก็เป็นกึ่งๆ วิทยาศาสตร์ หรือมีระเบียบ/วิธี/ขั้นตอนที่สามารถทำซ้ำได้นั้นเอง!

และมันก็ได้จุดประกายให้กับตัวผมเองที่ต้องการสอนผู้อื่นด้วย ผมจึงได้เริ่มต้นสอนผู้อื่นให้สามารถเขียนโปรแกรมด้วย Ruby Sketchup ได้

ชีวิตประจำวันของเราเป็นตัวกำหนดความสำเร็จ

สิ่งที่ผู้แพ้และผู้ชนะมีเหมือนกันก็คือเป้าหมาย

ในปี 2023 ผมได้มีโอกาสร่วมงานกับ CEO ท่านนึงครับ ซึ่งผมก็ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในงานสูงมาก เขาให้อิสระผมมากในการทำงานจนกระทั่งผ่านไป 2 เดือน หลังจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งผมตั้งเป้าไว้ว่าควรจะ Launch Product ได้แล้ว แต่มันก็ไม่ได้ Launch

สิ่งที่ผมได้รับคำตอบมาก็คือ Follow Me หรือนั้นก็คือเขาเป็นผู้กำหนดทิศทาง, Feature และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แล้วเชื่อเขาเถอะว่าเขาจะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้ดี แต่นั้นมันกลับกลายเป็นเหมือนฝันร้ายของผม ทำให้ผมเห็นภาพย้อนกลับตลอดชีวิตการทำงาน 10 ปีของผม ที่ล้วนแต่เป็นแบบนี้ทั้งนั้น

ไม่เคยมีโครงการไหนเลยที่เราให้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางจริงๆ ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนั้นก็ทำให้ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่า วัตถุประสงค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผ่านมาของผมเป็นการตอบโจทย์อะไรสักอย่างของเราเอง ไม่เคยสนใจในตัวลูกค้าจริงๆ เลย

คำพูดของเราที่มีต่อมุมของผลิตภัณฑ์และลูกค้าล้วนแต่เป็นประมาณว่า

  • เมื่อลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ของเราจนติดแล้ว แล้วเดี๋ยวเขาจะต้องทำตามที่เราต้องการเอง แต่ในความเป็นจริง เราทำไม่ได้แม้แต่จะทำให้ลูกค้าคนแรกใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา
  • เราจะสามารถทำเงินได้หลายวิธี ขอแค่เพียงพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราให้เสร็จ แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถดำเนินธุรกิจจนพ้นปีแรกได้เลย
  • เราจะทำเรื่องดีๆ เพื่อให้คนเป็นจำนวนมากมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราเองได้ด้วยซ้ำ

โดยเหตุผลที่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ แล้วมันก็เกิดจากเรื่องง่ายๆ นั้นก็คือ มนุษย์ทุกคนล้วนหมกหมุ่นในตัวเอง ยิ่งเราไปหมกหมุ่นอยู่กับผลิตภัณฑ์ของเรา เราก็จะยิ่งอยู่ห่างไปจาก ปัญหาของลูกค้า ซึ่งเป็นความหมกหมุ่นของลูกค้า และนั้นทำให้เราไม่เคยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้เลย

ทุกวันที่เราตั้งเป้าหมายล้วนเป็นแต่ว่าจะพัฒนา Feature อะไรออกมา ทำให้มันเสร็จเมื่อไหร่ แต่ในความเป็นจริง มันก็กลายเป็นการพัฒนาไม่เสร็จไม่สิ้น Feature นั้นเสร็จ แล้วก็ต่อด้วย Feature ถัดไป ลูกค้าแทบไม่เคยได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราเลย ดังนั้นเลิกพูดถึง Killing Feature ไปได้เลย เพราะคนที่เข้ามายังเว็บไซต์/แอพของเรามากกว่า 80% ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ของเราเลยด้วยซ้ำ

ประเมินตัวเองซะ!

ผมได้รวบรวมคำถามที่ใช้พฤติกรรมที่ผ่านมาว่าผู้ประเมินได้กระทำอย่างไรบ้าง แล้วแปลงให้คำตอบกลายเป็นความเชื่อของผู้ใช้ เพื่อใช้ในการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ โดยคำถามมี 2 ชุด สำหรับผู้อยู่ระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ และผู้ที่ Launch Product แล้ว

ฉันกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฉันเปิดตัวผลิตภัณฑ์แล้ว

ผมเป็นใคร?

Luke Skywalker มี Obi-Wan Kenobi, Harry Potter มี Dumbledore, และคุณละ?

ถ้าอ่านเนื้อหาในหน้านี้น่าจะทราบแล้วว่าผมเป็นทั้ง Programmer, ผู้ประกอบการ, ติวเตอร์, และอาจจะรวมถึง Youtuber ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ด้วย แต่ไม่ว่าผมจะเป็นอะไรมันก็ไม่สำคัญเท่ากับเป้าหมาย (ที่ผมเคยบอกไว้ว่าไม่สำคัญเท่ากับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน) คือ ผมต้องการที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จ

ผมชื่อสุกฤษฏิ์ สุนามะ วัตถุประสงค์สูงสุดในชีวิตของผมคือการทำให้ผู้อื่นสามารถทราบ, เข้าใจ, และไปถึงยังวัตถุประสงค์สูงสุดในชีวิตด้วย หรือถ้าจะทำให้เหลือแค่คำๆ เดียวแล้วละก็ คำว่า Purposeful หรือเปี่ยมไปด้วยวัตถุประสงค์ คือคำที่สามารถใช้อธิบายตัวตนของผมได้ดีที่สุด

และข้อสรุปของผมจากการใช้ชีวิตว่าจะทำให้ผู้คนเป็นจำนวนมากที่สุดสามารถเดินไปถึงวัตถุประสงค์สูงสุดของชีวิตได้ก็คือ การทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ เพราะ ผู้ประกอบการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับลูกค้าในทางที่ดีขึ้น สามารถสร้างงานได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ชีวิตของพนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเมื่อผู้คนมีรายได้ที่มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในลำดับถัดไปก็คือการพัฒนาตนเองนั้นเอง และนั้นจะทำให้พวกเขาเหล่านั้นก้าวไปยังวัตถุประสงค์สูงสุดของชีวิตได้ในลำดับถัดไปนั้นเอง

ถ้าหากคุณต้องการที่จะให้ผมเข้ามาช่วยในธุรกิจของคุณ ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วย โดยสามารถติดต่อผม (สุกฤษฏิ์) ได้ผ่านทางโทรศัพท์ 0942828425 หรือติดต่อเข้ามาทาง Facebook Fanpage หรือติดต่อทาง LINE ได้ในช่วง 8:00 - 17:00 ของทุกวันเลยครับ โดยผมยินดีที่จะช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ผมเข้าใจดีในเวลาที่มืดมนที่สุดในชีวิต และผมพร้อมที่จะยืนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยเหลือคุณครับ